-
การดุ ด่า และตำหนิ ไม่ได้ช่วยให้มี ภาวะผู้นำ
"คุณเคยถูกเจ้านายคุณดุ ด่า ตำหนิ หรือไม่"
คุณรู้สึกอย่างไรครับเวลาถูกด่า ตำหนิแบบแรงๆ แน่นอนครับคุณไม่ชอบแน่ๆ
คุณเคยสงสัยไหมว่า พฤติกรรมของผู้นำที่เน้นในเรื่องของการพูดตรงๆ แบบแรงๆ ด่า ตำหนินั้นมีประโยชน์ ในการสร้างภาวะผู้นำหรือไม่
คำตอบ มันไม่ใช่พฤติกรรมที่ดีเลยครับในความเป็นผู้นำ
จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยการจัดการใน สหรัฐอเมริกา พนักงานที่ถูกผู้นำที่ใช้อารมณ์ ดุ ด่า ตำหนินั้นมากกว่า 90% จะเกิดแรงต้านมากกว่า เกิดแรงผลักดันเพื่อให้เกิดการพัฒนาในงาน ซ้ำยิ่งไปกว่านั้นการทำงานหลังจากการถูก ตำหนิ หรือดุ ด่า นั้นจะเป็นการทำงานด้วยการประชด ประชัน ไม่ใช่ด้วยความเต็มใจ ทำให้งานที่ออกมาไม่มีประสิทธิภาพ
ผู้นำ ที่ใช้วิธีการกระตุ้นการทำงานเมื่่อพนักงานทำงานผิดผลาดด้วยการ ดุ ด่า ตำหนิ หรือบ่นอย่างแรงนั้น เป็นผู้นำที่อิง และถือในตำแหน่งหน้าที่การงานมาก ซึ่งขัดต่อหลักการพัฒนา "ภาวะผู้นำ" อย่างสิ้นเชิง ผู้นำที่มี ภาวะผู้นำ ต้องหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา และชี้ให้พนักงานที่ทำผิดพลาดนั้นเห็นถึงผลที่จะตามมาจากความผิดพลาดนั้น การดุ ด่า ตำหนิอย่างแรง จนถึงขั้นการให้ใบเตือน จะเป็นการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
ผมมีวิธี ที่ใช้แทนการดุ ด่า ตำหนิพนักงานตามแนวทางของ " ภาวะผู้นำ " ที่แท้จริงมาฝาก หากคุณนำไปปรับใช้รับรองครับว่า พนักงานของคุณ ลูกน้องของคุณ หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงานของคุณ จะรู้สึกกับคุณดีขึ้น และได้รับความร่วมมือในการทำงานมากขึ้น
1. เมื่่อจะตำหนิ ตักเตือน ใครควรเรียกคุยในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว ไม่ควรตักเตือนต่อหน้าพนักงานหลาย ๆ คน โปรดจำไว้น่ะครับว่า มนุษย์ทุกคนมีความอาย และความต่อต้านในจิตใจของตนเอง หากคุณตักเตือนเขาต่อหน้าพนักงาน คุณจะไม่ได้รับความศรัทธาจากพนักงานคนนั้นอีกเลย
2. ทุกๆ คนไม่ชอบการถูก ตำหนิ หรือด่า เป็นกฎที่อมตะมากๆ ครับ คุณควรจะเปลี่ยนนิสัยเสียใหม่ จากการดุ ด่า ตำหนิ ให้เปลี่ยนเป็นการชี้ถึงผลที่จะตามมาก โดยเฉพาะผลที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวของเขาเอง เมื่อทำการชี้แจงให้พนักงานเห็นผลที่จะตามมาจนเขายอมรับ เขาจะมีท่าทีในการยอมรับ และศรัทธาในตัวคุณมากกว่าการตำหนิ ทั้งนี้คุณต้องบอกเขาอย่างสุภาพ ว่า " ผิดครั้งต่อไปอาจจะมีการตักเตือน แต่ผมมั่นใจว่าคุณจะไม่ผิดพลาดเอง เรามาช่วยกันในการแก้ไขข้อผิดพลาดในครั้งนี้น่ะครับ " เป็นอย่างไรบ้างครับกับประโยคนี้ คุณฟังแล้วรู้สึกอย่างไร ผมคงไม่ต้องบรรยายอะไรเพิ่มเติมน่ะครับ
3.หากพนักงานเกิดทำผิดอย่างร้ายแรง จนทำให้เราเกิดอารมณ์อย่างแรง ผมขอบอกไว้เลยน่ะครับว่า คุณไม่ควรเรียกพนักงานคุย ณ เวลานั้น ให้ออกจากสภาวะแวดล้อมนั้นก่อน เมื่อออกมาแล้วให้สูดลมหายใจลึกๆ ยาวๆ จะช่วยให้อารมณ์ที่รุนแรงของคุณนั้นเย็นลง เมืิ่ออารมณ์เย็นลงแล้ว ก็ให้เรียกพนักงานคนนั้นเข้ามา แล้วทำตามวิธีตามข้อ 2 จงจำไว้น่ะครับว่าการตำหนิพนักงานด้วยอารมณ์ ที่กำลังรุนแรงอยู่นั้น " มันได้ไม่คุ้มกับเสีย " คุณจะเสียบารมีของคุณ ศรัทธาของพนักงานที่มีต่อตัวคุณ อย่างไม่มีวันหวลกลับ อย่างให้มันเกิดขึ้นกับคุณ
หลักปฏิบัตินี้เป็นหลักปฏิบัติที่ใช้ได้ผล จงยึดถือและใช้มัน ผมรับรองว่าจะส่งผลให้ เกิด " ภาวะผู้นำ " ที่แท้จริงในตัวคุณแน่นอนครับ
แด่การชนะใจคนด้วยภาวะผู้นำในตัวคุณ
ธวัชชัย สุวรรณสาร
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะผู้นำ
086-6593823
ปณิธาน: ต้องการให้ทุกคนมีภาวะผู้นำที่่ยอดเยี่ยม
ป้ายกำกับ:
ปรับเปลี่ยนตนเองสู่ความเป็นผู้นำที่แท้่จริง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
บทความข้างต้น คือ บทความที่สะท้อนความเป็นจริงได้ตรงมากครับ ขอบคุณมากครับ
แสดงความคิดเห็น