พฤติกรรมของผู้นำ ที่ยึดมั่นในตำแหน่งหน้าที่ ตอนที่ 3


>>>>>>> ติดตามต่อกันเลยกับตอนสุดท้าย

   3.พวกจิตใจเหมอลอยในการทำงาน

      คือลักษณะการทำงานของผู้นำ และพนักงานที่มาทำงานแต่ไมได้นำจิตใจในการทุ่มเทในงาน และความกระตือรือร้นมาด้วย มุ่งแต่ทำงานเพื่อจะให้ได้รับเงินเดือนเท่านั้น

     ผู้นำที่มีสภาวะแบบนี้ ภาวะผู้ำนำได้สลายไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งยังจะก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ติดต่อไปสู่พนักงาน ลูกน้อง หรือทีมงานของผู้นำคนนั้นได้ เนื่องจากว่าผู้นำไปได้ให้ความสนใจ พนักงานและทีมงานเท่าที่ควร แม้ทีมงานทำอะไรผิดพลาด ก็ไม่หาทางแก้ไข หรือตักเตือนจนเป็นความเคยชิน ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนทำให้ทีมงานเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน

 
      ทัศนคติแบบนี้ เกิดกับผู้นำที่ยึดมั่นในตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น ตามที่ผมบอกไปแล้วว่าผู้นำที่ยึดในตำแหน่งหน้าที่ ยึดแต่เพียงว่า " ตำแหน่งผู้นำที่ตนมีคือสิ่งที่ นำมาซึ่งภาวะผู้นำ เท่านั้น "

      ทัศนคติลักษณะนี้ถือว่าเป็นทัศนคติที่สร้างความเสียหายต่อองค์กร  และทำให้บุคคลากรในองค์กรไม่มีวันที่จะเข้าใกล้ "ภาวะผู้นำ" ที่แท้จริงได้



      อีกทั้งเป็นเรื่องที่น่าใจหายว่า สังคมการทำงานในโลกนี้ โดยเฉพาะผู้ำนำ   และพนักงานที่ทำงานกว่า 20% ไม่สนใจในงานที่ตนเองทำ     มุ่งแต่ทำงานที่ตนรับผิดชอบเพื่อเลิกงานจะได้กลับบ้านเท่านั้น ยังผลให้เกิดความเสียหายกับธุรกิจมากกว่าหลายล้านดอลลาร์เลยทีเดียว    โดยเคยมีผู้กล่าวประโยคหนึ่งซึ่งยังคงใช้ได้อย่างเป็นอมตะตลอดการคือ

     " เราอาจจะซื้อเวลาของพนักงานหรือบุคคลหนึ่งได้ หรือซื้อตำแหน่งความสามารถที่บุคคลคนนั้นมีเพื่อมาทำงาน  เงินสามารถทำงานพนักงานเกิดความคล่องแคล่วความตื่นตัวในการทำงาน  แต่เงินไม่สามารถซื้อจิตใจ  ความกระตือรือร้น........คุณไม่สามารถซื้อบารมีได้......คุณไม่สามารถซื้อความไว้วางใจได้........ซื้อความทุ่มเทในความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้    มีเพียงสิ่งเดียวที่คุณสามารถทำงานเพื่อจะได้สิ่งเหล่านี้มาก็คือ คุณต้องทุ่มเทและพยายามถึงจะได้มา "

     ภาวะผู้นำ คือเมื่อคุณได้รับตำแหน่งและก้าวสู่ความเป็นผู้นำ  ยิ่งสูงคุณก็ยิ่งต้องมีความพยายามและความทุ่มเทมากขึ้นในการพัฒนางาน โดยเฉพาะตัวของเราเอง แต่ผู้นำที่ยึดมั่นในตำแหน่งหน้าที่เป็นสำคัญกลับขาดในสิ่งนี้ในการทำงาน   อาจจะกล่าวได้ว่า ผู้นำที่ยึดในตำแหน่งหน้าที่นั้น มีในเรื่องของ      "ภาวะผู้นำน้อยมากถึงมากที่สุด และไม่มีวันประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต "

     ซึ่งหากยังคงให้ผู้นำที่มีทัศนคติแบบนี้อยู่ในองค์กร ผู้นำลักษณะนี้จะมีส่วนร่วมในองค์กรน้อยลงๆ เรื่อย  เนื่องจากมีการทำพฤติกรรมหลับหูหลับตาทำตามหน้าที่ของตนไปเรื่อยๆ ทำให้เขารู้สึกว่าไม่มีส่วนร่วมในองค์กร   หากผู้นำลักษณะนี้ไม่ปรับปรุงตัว ผมบอกได้อย่างเดียวว่าคุณคงต้องลาออกไป แล้วไปทำอย่างอื่นดีกว่าที่ไม่ใช่ผู้นำ    เพราะคุณไม่มี   "ภาวะผู้นำ" ที่มากพอนั่นเอง


     จำไว้น่ะครับว่า " ไม่มีที่ว่างในโลกแห่งความสำเร็จให้สำหรับคนที่ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงตนเอง "



แด่การพัฒนาสู่ความเป็นผู้นำของคุณ
    
ธวัชชัย สุวรรณสาร
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะผู้นำ
ที่ต้องการให้คุณเป็นผู้นำ ที่มี " ภาวะผู้นำ " ที่สมบูรณ์แบบ

     
     

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น