" การยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง "
เป็นพฤติกรรม ที่่ผู้บริหาร หรือผู้จัดการที่คิดว่าตนเองเป็นผู้นำส่วนมากยึดถือปฏิบัติ ทั้งโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม
แต่ผมบอกได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ คุณหากจะฝึกให้มี " ภาวะผู้นำ "
แล้วไ่่ม่ควรยึดถือปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ไม่เช่นนั้นคุณจะไม่สามารถเป็นผู้นำที่ถูกต้องได้เลย
คุณอาจจะพบเจอพฤติกรรม "การยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง" จากผู้นำของคุณ โดยผู้ที่ยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลางนั้น คือผู้ที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของตำแหน่ง หน้าที่ระดับสูงที่ตนได้ รับจนลืมคุณค่าของผู้ื่อื่น ซึ่งผมจะยกตัวอย่างให้คุณเห็นภาพที่ชัดเจน ดังต่อไปนี้
" ในการประชุมใหญ่ของแผนกหรือฝ่ายทุกครั้ง นโยบายหรือแนวทางแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่ สุดท้ายก็ต้องเอาความคิดของผู้บริหาร และผู้จัดการเป็นหลัก โดยข้อเสนอของผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีความหมาย"
" ผู้นำของคุณหากประสบความสำเร็จ จะนำความสำเร็จที่ทีมทำร่วมกัน เป็นของตนเองทำให้ตนได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ระดับพนักงานไม่มีการส่งเสริมใดๆ ตำแหน่งยังคงอยู่เหมือนเดิม"
" เมื่อมีปัญหา หรือความบกพร่องในงานเกิดขึ้น ผู้บริหารจะหาผู้กระทำผิดโดยมุ่งเน้นที่ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเองก่อน ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วผู้บริหารหรือผู้จัดการ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในความผิดนั้นก่อนเป็นอันดับแรก และต้องแสดงความรับผิดชอบ อีกทั้งต้องหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นไปก่อน "
เป็นอย่างไรบ้างครับ คุณเคยพบกับปัญหาแบบนี้ไหม ครับ ที่มีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นในองค์กรเพราะว่า " ผู้นำของคุณไม่มีภาวะผู้นำที่แท้จริง มุ่งยึดผลประโยชน์ของตนเป็นศูนย์กลาง "
ฉะนั้นหากคุณจะสร้าง " ภาวะผู้นำ " ที่ยอดเยี่ยมในตัวคุณแล้วคุณจะต้องเปลี่ยน หรือสร้างพฤติกรรมของตนเองโดย " จะต้องให้ความสำคัญกับผู้อื่น "
ลดความเห็นแก่ตัวลง มองถึงคุณค่าของผู้อื่นให้มาก คุณเริ่มได้ครับตั้งแต่วันนี้ คุณไม่ต้องรอให้เป็นหัวหน้างาน หรือผู้จัดการก่อน ผมบอกแล้วว่า ภาวะผู้นำ นั้นสามารถเริ่มได้ทุกตำแหน่ง ทุกสถานการณ์ ซึ่งหากคุณ เริ่มบ่มเพาะนิสัย การให้ความสำคัญกับผู้อื่นแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณต้องการจะตามมาหาคุณเอง
ผมจะยกตัวอย่าง การให้ความสำคัญกับผู้ือื่่น โดยผมจะยกสถานการณ์ 3 ข้อข้างต้นจากพฤติกรรมที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ไปเป็น การให้ความสำคัญกับผู้อื่น คุณจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นในการปฏิบัติ
" ในการประชุม เปิดโอกาสให้ทุกคน แม้กระทั่งผู้ใต้บังคับบัญชาของตนแสดงความคิดเห็น จดประเด็นที่แต่ละคนเสนอและ ลงคะแนนเสียงในแต่ละข้อว่าเหมาะสมหรือไม่ เมื่อเลือกได้เลยให้นำไปปฏิบัติ โดยผู้นำได้ชมเชยความคิดของพนักงานที่เสนอแนวทางด้วย "
" ความสำเร็จที่เกิดขึ้น ผู้นำได้แจ้งว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นผลงานของทุกๆ คนและผู้นำภูมิใจในความสามารถของทุก ๆ คน และจัดงานเลี้ยงเล็กๆ ขึ้นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในทีม "
" เมื่อมีปัญหาหรือข้อบกพร่องในงานเกิดขึ้น ผู้นำได้เปิดประชุมเพื่่อขอความคิดเห็นถึงแนวทางแก้ไขปัญหาของทุกคนก่อน ส่วนจะเป็นความบกพร่องของใครนั้นเมื่อปัญหาได้รับการแก้ไขแล้ว และนำกรณีดังกล่าวเป็น กรณีตัวอย่าง และให้อภัยกับผู้ที่ก่อปัญหาพร้อมแจ้งผลที่อาจจะตามมาให้ผู้ก่อปัญหาทราบ "
เป็นอย่างไรบ้างครับ คุณพอจะเห็นภาพที่ชัดเจนของการให้ความสำคัญกับผู้อื่นแล้ว ใช่ไหมครับ หากคุณยึดเป็นแนวทางทุกคน ลูกน้องคุณ จะกล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างแน่นอน
ผมขอฝากบทความ สักบทความหนึ่งที่ผมพบแล้วมันโดนใจผมมากๆ ครับ
" หากคุณช่วยให้คนอื่่นได้รับสิ่งที่เขาต้องการก่อน เขาเหล่านั้นก็จะช่วยให้คุณได้รับในสิ่งที่คุณต้องการเช่นกัน "
ซิก ซิกลาร์
นักสร้างแรงบันดาลใจชาวอเมริกัน
แด่วิญญาณในการเห็นคุณค่าของผู้ือื่นของคุณ
ธวัชชัย สุวรรณสาร
ที่ปรึกษาด้านภาวะผู้นำ
ปณิธาณ : ต้องการให้คุณเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยม
086 - 6593823
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น